ข่าวกีฬา ปูมหลังทางวัฒนธรรม ? : ทำไม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ถึงเป็นคู่ปรับตลอดกาลในวงการกีฬา

ข่าวกีฬา

ข่าวกีฬา ปูมหลังทางวัฒนธรรม ? : ทำไม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ถึงเป็นคู่ปรับตลอดกาลในวงการกีฬา

ข่าวกีฬา หากพูดถึงคู่ปรับตลอดกาลในเกมกีฬาประจำภูมิภาคอาเซียน “อินโดนีเซีย-มาเลเซีย” ย่อมเป็นสองชาติที่ทุกคนนึกถึง เพราะไม่ใช่แค่การแข่งขันในสนามที่เข้มข้น แต่การเผชิญหน้าของแฟนกีฬาทั้งสองชาติ ต่างดุเดือดและมีความรุนแรง ราวเกิดการจราจลในเมือง

Main Stand หาเหตุผลว่าทำไมทั้งสองชาติถึงแย่งชิงความดีเด่นทางกีฬาอย่างดุเดือด จนเกินกว่าจะเป็นการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ กับคำตอบที่แสดงให้เห็นความขัดแย้งระดับชาติในยุคสงครามเย็น ก่อนลามเป็นปัญหาทางวัฒนธรรม ที่ส่งผลกระทั่งเรื่องเล็กน้อยแบบการแย่งชิงสิทธิต้นกำเนิดสตรีทฟู้ดข้างถนน

เพื่อนบ้านที่ความสัมพันธ์ไม่เคยราบรื่น

ความสัมพันธ์ระหว่าง อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ถือเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างชาติที่มีความสำคัญ และซับซ้อนที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากย้อนกลับไปในวันที่มาเลเซียประกาศตนเป็นรัฐสหพันธ์ อินโดนีเซียไม่ยอมรับการถือกำเนิดของเพื่อนบ้าน เนื่องจากความขัดแย้งเรื่องดินแดนทับซ้อน ซึ่งนำมาสู่การเผชิญหน้าทางทหารที่ตึงเครียดมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อาเซียน

 

ย้อนกลับไปยังยุคล่าอาณานิคม ทั้ง อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ต่างไม่ใช่ประเทศเอกราชที่มีอิสระในการปกครองตนเองอย่างประเทศไทย โดย อินโดนีเซีย ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิดัตช์ และถูกปกครองภายใต้ชื่อ ดัตช์อีสต์อินดีส หรือ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ส่วน มาเลเซีย ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริติช และถูกปกครองภายใต้ชื่อ บริติชมาลายา

 

8

 

 

สถานการณ์ของทั้งสองประเทศตกอยู่ภายใต้ชะตากรรมเดียวกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ จักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้ายึดดัตช์อีสต์อินดีส และบริติชมาลายา เมื่อสงครามดังกล่าวจบลง ซึ่งผลลัพธ์คือความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ญี่ปุ่นได้ถอนกำลังออกจากพื้นที่ทั้งหมดในภูมิภาคอาเซียน และต้องเปิดทางให้เจ้าอาณานิคมจากตะวันตก กลับมาครองพื้นที่เดิมอีกครั้ง

แต่ด้วยกระแสของการปฏิวัติเพื่อเอกราชซึ่งแพร่กระจายไปทั่วโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อินโดนีเซียจึงประกาศตนเป็นเอกราชจากจักรวรรดิดัตช์ในปี 1945 นำมาสู่สงครามเอกราชอินโดนีเซีย ซึ่งกินเวลายาวนานจนถึงปี 1949 โดยอินโดนีเซียในเวลานั้น ได้รับแรงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการใช้อินโดนีเซียเป็นประเทศกันชนการขยายตัวของแนวคิดคอมมิวนิสต์ในภายภาคหน้า แถมยังเป็นการทำลายอำนาจของกลุ่มจักรวรรดินิยม ซึ่งเป็นขั้วอำนาจเก่าของโลกได้อีกด้วย

 

ขอบคุณข่าว : www.sanook.com

สนใจสมัคร ติดต่อ : www.whytheheckshouldicareaboutthetpp.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *